วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สาระสำคัญ
                ปัจจุบันการจัดงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานพระราชพิธี งานพิธี หรือแม้แต่การจัดงานทางธุรกิจ นิยมใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบในการตกแต่งสถานที่   จึงมีผู้ประกอบธุรกิจต้องการบริการให้บริการตกแต่งสถานที่ เช่น  โต๊ะอาหาร เวที ซุ้ม ฯลฯ  กันอย่างกว้างขวาง  ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจด้านการบริการจัดตกแต่งสถานที่จำเป็นต้องรู้จักการคิดต้นทุน และราคาในการให้บริการ                     
สาระการเรียนรู้
1.       การคำนวณต้นทุน
2.    การคิดราคา 
ผลการเรียนรู้
1.       เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดต้นทุนและการคำนวณราคา
2.       เพื่อให้มีทักษะในการคิดต้นทุนและการคำนวณราคา
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.       บอกความหมายของต้นทุนการผลิตได้
2.       บอกองค์ประกอบของต้นทุนได้
3.       คิดคำนวณต้นทุนและคำนวณราคาได้
4.       มีจริยธรรมในการคิดคำนวณราคา
การคำนวณต้นทุนและการกำหนดราคา
1.  การคำนวณต้นทุน
                ต้นทุน (Cost) คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินสดหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้การให้สินค้าและบริการนั้นสำเร็จพร้อมนำส่งให้ลูกค้าหรือผู้รับบริการได้
1.1    ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิต มี่ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
1.       วัตถุดิบ (Material)
2.       ค่าแรง (Labour)
3.       ค่าโสหุ้ย (Manufacturing Overhead)
       วัตถุดิบ (Material)  เป็นวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือบริการ เช่น ในธุรกิจการผูกผ้าหรือการจับจีบผ้า วัตถุดิบ คือ ผ้า   เข็มหมุด   เป๊ก  ผ้าพลาสติก  ซึ่งใช้ในการผูกผ้าและจับจีบผ้า
                     ค่าแรงงานทางตรง  (Direct  Labour) เป็นค่าจ้างหรือค่าแรงที่จ่ายให้กับพนักงานที่ทำการผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น พนักงานตัดเย็บผ้า  หรือ ผูกผ้า  
                      ค่าโสหุ้ย (Manufacturing Overhead)  เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มิใช่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าวัตถุดิบหรือค่าแรงทางตรงซึ่งใช้ในการผลิต จะถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตได้แก่ ค่าแรงงานทางอ้อม ค่ารถขนของ ค่าวัตถุดิบทางอ้อม (วัตถุดิบทางอ้อม คือ วัตถุดิบที่ไม่ใช่วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ)  ค่าเครื่องมือ ค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์
ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ ค่าบำรุงรักษาผ้า  ค่าซัก รีดผ้า  เป็นต้น
1.2   การจำแนกประเภทต้นทุน
ในการคิดคำนวณต้นทุนนั้น ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการต้องพิจารณาลักษณะงานที่ผลิตว่า
เป็นต้นทุนประเภทใด ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภท คือ    
1.       ต้นทุนที่เกิดจากการผลิตสินค้า
2.       ต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการ
                ต้นทุนที่เกิดจากการผลิตสินค้า  คือต้นทุนที่เกิดจากการรับจ้างผลิตสินค้าหรือบริการ หรือการรับจ้างทำของ ซึ่งผู้รับบริการจะได้เป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการนั้น  เช่น การรับจ้างตกแต่งสถานที่ ผู้รับบริการจะได้รับชิ้นงานที่สร้างขึ้นไว้เป็นสมบัติของตน เช่น การว่าจ้างตกแต่งห้อง การจัดซุ้ม  โดยผู้รับบริการไม่เพียงแต่จะได้รับการบริการที่ทำให้สถานที่ของตนมีความสวยงามมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้รับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งไปด้วย  ต้นทุนการผลิตชนิดนี้ประกอบด้วย
1.       วัตถุดิบ เช่น ผ้า  เป๊ก  ลวด  โครงสร้างที่ใช้ในการตกแต่ง  ฯลฯ
2.       ค่าแรง  แบ่งเป็น ค่าแรงทางตรง และ ค่าแรงทางอ้อม ดังนี้
ค่าแรงทางตรง เช่น ค่าจ้างพนักงานผูกผ้า หรือ พนักงานจับจีบผ้า
3.       ค่าโสหุ้ย เช่น ค่าจ้างพนักงานซักรีด  พนักงานขับรถ ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ที่ใช้
ในการ ตกแต่ง ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
                ต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการ   คือต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการด้านต่าง ๆ ตามลักษณะอาชีพ เช่น การให้บริการตกแต่งสถานที่ การให้บริการตัดผ้าการให้บริการตกแต่งเวที ตัวอักษรเป็นต้น  ต้นทุนการให้บริการนี้ประกอบด้วย
                                1.   วัตถุดิบ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการ เช่น ผ้า   เข็มหมุด เป๊ก ลวด   ผ้าพลาสติก  จักรเย็บผ้า หรือ กรรไกรตัดผ้า  ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ผู้ให้บริการสามารถนำกลับไปใช้ได้อีกในภายหลัง
                                2.   ค่าแรง คือ ค่าแรงที่ใช้ในการให้บริการนั้น ๆ  ปกติจะคิดค่าแรงงานดังนี้
การคิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมง โดยนำชั่วโมงทำงาน คูณกับ ค่าแรงรายชั่วโมง หรือ การคิดค่าแรงเป็นชิ้นงาน กล่าวคือ มีการตกลงกันไว้ว่า จะให้ค่าแรงงานชิ้นละเท่าใด โดยนำจำนวนค่าแรงรายชิ้น คูณกับ จำนวนชิ้นที่ใช้ในการให้บริการ
3.  ค่าโสหุ้ย เช่น ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่วัตถุดิบทางตรงหรือค่าแรงทางตรง  เช่น ค่าเช่ารถ
ค่าเช่าอุปกรณ์ โต๊ะ  เก้าอี้  ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ เครื่องมือ  จักร  เป็นต้น

 1.3  การคำนวณต้นทุน
                       1.3.1  การคำนวณวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการตกแต่งสถานที่โดยใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบ     แบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ คือ           
1. ผ้าที่ใช้ผูก  มีลักษณะเป็นม้วน เพราะจะใช้ตกแต่งสถานที่ ๆ เป็นช่วงยาว ๆ เช่น
เวที รั้ว บันได กำแพง หน้าจั่วเสา ในการคำนวณจำนวนผ้าที่ใช้นั้น ปกติจะต้องคำนวณผ้าที่ใช้ให้เป็น 2 เท่าของขนาดของพื้นที่ เพราะต้องใช้ผ้าในการผูกดอก  การทำเฟื่อง  การทำระย้า  เช่น พื้นที่ใช้ตกแต่งมีความยาว 25 เมตร จะใช้ความยาวของผ้าจำนวน 50 หลา ซึ่งโดยปกติผ้าที่ใช้มักเป็นขนาดที่มีหน้ากว้างของผ้า 46 นิ้ว
                                2.  ผ้าที่ใช้ในการจับจีบ  มีทั้งลักษณะที่เป็นม้วนและเป็นชิ้น การจับจีบผ้าจะใช้
การคำนวณ จากชนิดของลวดลายที่ใช้ในการจับจีบผ้า และ จากขนาดของพื้นที่ โดยให้คำนวณผ้าที่ใช้เป็น  2 เท่า, 3 เท่า , หรือ 5 เท่า  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ และ ชนิดของลวดลายที่ใช้ดังนี้
ถ้าลักษณะโต๊ะ เป็นแบบโต๊ะกลม 
การคำนวณผ้าที่ใช้นิยมคำนวณจากขนาดของโต๊ะทั้งนี้ให้คำนวณตามรัศมีรอบโต๊ะ  ดังนี้


ภาพโต๊ะกลมขนาดมาตรฐานรัศมีโดยรอบ2.20 CM สูง .75 CM

ถ้าลักษณะโต๊ะเป็นแบบโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า  การคำนวณผ้าที่ใช้นิยมคำนวณจากลักษณะของลวดลาย และ ขนาดของโต๊ะตามสูตรที่ใช้  ดังนี้
ให้คำนวณหาจำนวนผ้าที่ใช้ โดยนำความกว้างของผ้า บวก ความยาวของผ้า หลังจากนั้นให้พิจารณาลวดลายที่ใช้ว่าควรใช้ผ้าเป็น 2 เท่า, 3 เท่า ตามตัวอย่างการคำนวณที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังนี้

ภาพโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดมาตรฐานกว้าง.76 CM ยาว 1.80 CM สูง .75 CM
จากตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการคำนวณจำนวนผ้าที่ใช้จากการตกแต่งพื้นที่ที่เป็นโต๊ะลักษณะต่าง ๆ นอกจากพื้นที่ที่เป็นโต๊ะแล้ว พื้นที่ลักษณะอื่น ๆ เช่น เวที  ซุ้ม หรือ ห้อง ฯลฯ ก็ต้องคำนวณจำนวนผ้าที่ใช้ตามลักษณะของการตกแต่งว่าควรจะมีผ้าที่ใช้ชนิดใดบ้าง จำนวนเท่าใด  และราคาของผ้าแต่ละชนิดมีมูลค่าเท่าใด ถ้าต้องการทราบค่าใช้จ่ายที่แท้จริงต้องนำราคาผ้ามาคูณเพื่อหาต้นทุนของผ้าทั้งหมด  นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงวัตถุดิบ   อื่น ๆ เช่น  ค่าเข็มหมุด  เป๊ก  ลวด  หรือ วัตถุดิบอื่นใดที่นำมาใช้ในการตกแต่งสถานที่
1.3.2     การคำนวณค่าแรง  คือการคำนวณเงินและค่าจ้างจากการปฏิบัติงาน
การคำนวณค่าแรงงานแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.       การคำนวณค่าแรงเป็นรายชั่วโมง มีวิธีการคำนวณดังนี้
ค่าแรงงาน  =  จำนวนชั่วโมงการทำงาน X อัตราค่าแรงรายชั่วโมง
2.    การคำนวณค่าแรงตามจำนวนชิ้นงาน มีวิธีการคำนวณดังนี้
       ค่าแรงงาน  =  จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ X อัตราค่าแรงงานต่อชิ้น
                1.3.3    การคำนวณค่าโสหุ้ย  คือการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เป็นต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงที่เกิดจากการผลิตโดยตรง เช่น ค่ารถขนของ ค่าซัก รีด ผ้า  ค่าเช่าโต๊ะ  เก้าอี้   ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
ตัวอย่างการรับงานตกแต่งสถานที่งานแต่งงาน  แนวการปฏิบัติ  วิธีการ เกณฑ์ในการกำหนดราคาในการรับงาน  ดังนี้
ตกแต่งเวที
1. จัดตกแต่งเวทีโดยการผูกดอก ทำเฟื่องสีขาวและทอง พื้นที่ กว้าง 10.30 CM ยาว 2.80 CM
2.  ด้านหลังเวทีขึงผ้าสีทองเป็นรูปตัว V พื้นที่ กว้าง  2.50 CM ยาว 3.50 CM

จัดทำซุ้มรูปตัวยู
      ซุ้มเหล็กตัวยู พันผ้าโปร่งสีทองและสีขาวจับจีบ
โต๊ะอาหาร
                      1.  โต๊ะวางอาหารบุฟเฟ่ต์จำนวน 2 ที่ ๆ ละ 4 ตัว จัดวางรูปตัว I ใช้ผ้าสีน้ำตาลทอง
จับจีบลายพัดชั้นเดียว ขนาดของโต๊ะกว้าง .76 CM  ยาว  1.80 CM
                     2.   โต๊ะกลมบุฟเฟ่ต์  VIP  จำนวน 10 ตัว คลุมผ้าขาวทองจับจีบลายพัดรอบโต๊ะ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.10 CM รัศมีโดยรอบ 2.20 CM
                     3.   โต๊ะกลมแขกผู้ร่วมงาน จำนวน 50 โต๊ะ ปูผ้าวงกลมสีทองและขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.10 CM รัศมีโดยรอบ 2.20 CM เก้าอี้
                     คลุมเก้าอี้พร้อมผูกโบว์ทอง จำนวน 600 ตัว
โต๊ะลงทะเบียน
                     โต๊ะลงทะเบียนจำนวน 1 โต๊ะ สีทองน้ำตาล จับจีบลายพัดดัดแปลง ขนาด กว้าง .76 CMยาว 1.80 CM
วิธีการคำนวณต้นทุนทำได้ดังนี้
                ต้นทุนวัตถุดิบ : ผ้า
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการทำซุ้ม
                ใช้ผ้า     ต่วนสีขาว   จำนวน   10       เมตร    ราคาเมตรละ  55   บาท          รวม       550          บาท
                ใช้ผ้า   โปร่งสีทอง   จำนวน   10      เมตร    ราคาเมตรละ 40   บาท           รวม       400          บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งเวที
                ใช้ผ้า   ต่วนสีขาว   จำนวน     45       เมตร    ราคาเมตรละ 55   บาท           รวม    2,475         บาท        ใช้ผ้า  โปร่งสีทอง  จำนวน     45           เมตร    ราคาเมตรละ 40  บาท            รวม    1,800         บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งโต๊ะวางอาหารบุฟเฟ่ต์ จำนวน 8 ตัว
                ใช้ผ้า  ต่วนสีน้ำตาลทอง  จำนวน  143.36   เมตร   ราคาเมตรละ   55  บาท รวม  7,884.80บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งโต๊ะกลมบุฟเฟ่ต์ VIP 10 ตัว
                ใช้ผ้า  ต่วนสีขาวทอง   จำนวน  88  เมตร  ราคาเมตรละ  55  บาท              รวม         4,840      บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งโต๊ะกลมบุฟเฟ่ต์ แขกร่วมงาน  50 ตัว
                ใช้ผ้า  ต่วนสีขาว    จำนวน  220  เมตร  ราคาเมตรละ  55  บาท                  รวม         12,100  บาท
                ใช้ผ้า  ต่วนสีทอง    จำนวน  220  เมตร  ราคาเมตรละ  55  บาท                 รวม         12,100  บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งเก้าอี้ จำนวน 600 ตัว
                ใช้ผ้า   มองตากรูสีขาว    จำนวน  1,080  เมตร  ราคาเมตรละ  40  บาท  รวม            43,200  บาท
ต้นทุนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งโต๊ะลงทะเบียน จำนวน 1  ตัว
                ใช้ผ้า  ต่วนทองน้ำตาล    จำนวน  15.36  เมตร  ราคาเมตรละ  55  บาท  รวม           844.80  บาท
                ใช้ผ้า  ต่วนทอง                    จำนวน  10  เมตร       ราคาเมตรละ  55  บาท  รวม         500         บาท
ต้นทุนวัตถุดิบ : วัสดุอื่น ๆ
                เข็มหมุด                 จำนวน      24        กล่อง      ราคากล่องละ  70  บาท  รวม  1,680  บาท
                เป๊ก                         จำนวน      24        กล่อง      ราคากล่องละ  15  บาท  รวม     360  บาท
ฯลฯ
ต้นทุนค่าแรง
                                    จำนวนคนงาน  5  คน ค่าแรงวันละ   500  บาท      รวม  2,500   บาท                   
ฯลฯ
                ต้นทุนค่าโสหุ้ย
                                    ค่ารถขนของ     1,500  บาท
                                    ค่าน้ำ  ค่าไฟ          500  บาท

รวมต้นทุนทั้งสิ้น   93,286.60  บาท    ( เก้าหมื่นสามพันสองร้อยแปดสิบหกบาทหกสิบสตางค์ )
2.  การกำหนดราคา
                การกำหนดราคาถือเป็นส่วนผสมทางการตลาดที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ นอกเหนือจาก สินค้าหรือบริการที่ได้นำเสนอให้ลูกค้า เพราะการกำหนดราคาสินค้าที่สูงหรือต่ำไป มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าเจ้าของกิจการคิดว่าต้องการขายสินค้าให้ได้มาก ๆ จึงตั้งราคาสินค้าให้ต่ำกว่าคู่แข่งขันเพื่อจะได้ดึงดูดลูกค้ามาจากคู่แข่ง  แต่อย่าลืมว่าการตั้งราคาสินค้าต่ำเกินไปหรือตั้งราคาสินค้าโดยไม่มีกฎเกณฑ์อาจทำให้เกิดภาวะขาดทุนหรือได้กำไรไม่คุ้มค่าใช้จ่ายกับการให้บริการ
                ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน 3 วิธีดังนี้
1.       การกำหนดราคาโดยการกำหนด Mark Up การกำหนดต้นทุนวิธีนี้ต้องใช้ข้อมูลของ
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขายเป็นหลักแล้วบวกส่วนเพิ่ม (Mark Up) ตามนโยบายของกิจการหรือผู้ประกอบการ เช่น ถ้าผู้ประกอบการต้องการตั้ง Mark Up 30% วิธีการกำหนดราคามีดังนี้
                เช่น  จากตัวอย่างการคำนวณต้นทุนของการรับตกแต่งสถานที่งานแต่งงานข้างต้น
การกำหนดราคาค่าบริการจากลูกค้า ดังนี้
ต้นทุนรวม                    (สมมุติ)                                                             =        24,000.-
กำหนด Mark Up 30%                               (24,000 X 30/100)       =          7,200.-
ราคาค่าบริการ                                                                                        =        31,200.-
                2.  การกำหนดราคาโดยคำนึงถึงความพึงพอใจหรือกำลังซื้อของลูกค้า เป็นวิธีที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้เพราะการกำหนดราคาตามความพอใจหรือการเห็นคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ดังนั้นจึงไม่มีวิธีคิดที่ตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าหรือบริการ หรือเกิดจากค่านิยมของสินค้าหรือบริการในขณะนั้น
3.  การกำหนดราคาตามการแข่งขัน วิธีนี้เป็นการกำหนดราคาจากราคาตามคู่แข่งขัน
วิธีนี้เป็นการกำหนดราคาที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเป็นราคาทั่วไปที่ใช้อยู่ในท้องตลาด
บทสรุป
                ในการคิดคำนวณต้นทุนการผลิต  องค์ประกอบ 3 ส่วน  คือ  วัตถุดิบ  คือส่วนประกอบหลักในการปฏิบัติงาน  เช่น  ผ้า  เข็มหมุด  เป็ก  ค่าแรงงานทางตรง  ค่าแรงที่จ่ายให้กับพนักงานผูกผ้าค่าโสหุ้ย  คือ  ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการ  เช่น  ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์  ค่าเช่ารถ  ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์  และในการจำแนกต้นทุน แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือต้นทุนที่เกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการ  เช่น  การจัดตกแต่งโต๊ะ  ตกแต่งเวที  ซุ้ม  จะประกอบด้วย  วัตถุดิบ  ผ้า  เป็ก  ลวด  ค่าแรงงานทางตรงและทางอ้อม  ทางตรง  คือ ค่าจ้างพนักงานผูกผ้า  พนักงานจับจีบผ้า  ค่าโสหุ้ย  ค่าเสื่อมราคา  ค่าพนักงานขับรถ 
ต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการ  เช่น  การให้บริการตกแต่งสถานที่จะมีองค์ประกอบ  คือ วัตถุดิบ  ค่าแรงงานคิดเป็นรายชั่วโมง  รายวัน  รายชิ้น  และค่าโสหุ้ย
ในการคิดคำนวณต้นทุนองค์ประกอบที่สำคัญ คือ  วัสดุโครงสร้าง  เช่น  ซุ้ม  เวที  โต๊ะ  เก้าอี้  ควรหาพื้นที่ความกว้าง  ความยาว  ความสูง  เพื่อกำหนดราคาต้นทุนในการจัดซื้อผ้าและกำหนดราคา